วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อความที่ควรรู้เกี่ยวกับใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading)


ข้อความที่ควรรู้เกี่ยวกับใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading) 

ข้อความที่สำคัญที่ควรรู้ในใบตราส่งสินค้าทางเรือ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ โปรดสังเกตว่าข้อความในใบตราส่งสินค้ามีอยู่ 2 พวก พวกแรกได้แก่ข้อความที่พิมพ์ดีดติดอยู่ในแบบฟอร์มของใบตราส่งสินค้า อีกพวกหนึ่งคือข้อความที่พิมพ์เติมลงไป ข้อความพวกแรกจะเป็นศัพท์เฉพาะ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศจำเป็นจะต้องทราบความหมาย ส่วนข้อความพวกที่ 2 ที่พิมพ์เติมลงไปจะต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อ ในกรณีที่ซื้อขายกันด้วย L/C จะต้องระบุตาม L/C อย่างเคร่งครัด

1.    Shipping Particular/ Shipping Order/ Shipping Instruction: ใบจองเรือที่ผู้ส่งออกจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อตัวแทนสายเดินเรือจะได้นำรายละเอียดต่างๆ ไปจัดทำใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก

2.    Shipper: ผู้ส่งสินค้า

3.    Consignee: ผู้รับใบตราส่งสินค้า
           - กรณีซื้อขายโดย L/C จะระบุตามแต่เงื่อนไขใน L/C ว่า TO ORDER 
             หรือระบุเป็นชื่อธนาคารผู้เปิด L/C
           - กรณีซื้อขายตรงโดยไม่ผ่านธนาคารจะระบุชื่อผู้รับสินค้า

4.     Notify Party: ผู้รับสินค้า หรือผู้รับโอนสิทธิ์ในสินค้าจาก Consignee

5.     PRE-CARRIER: ชื่อเรือเล็กที่ขนสินค้าไปขึ้นเรือใหญ่ ณ เมืองท่าที่เรือใหญ่มารับขนสินค้าจากเรือเล็กอีกทอดหนึ่ง

6.     VESSEL/STEAMER/CARRIER: ชื่อเรือใหญ่ที่เดินทางไปยังเมืองท่าปลายทาง

7.     VOY.NO./VOYAGE NO.: เที่ยวเรือ

8.     PLACE OF LOADING / PORT OF LANDING: เมืองท่าต้นทางที่ส่งออก

9.     PLACE OF RECEIPT: สถานที่รับสินค้าต้นทาง อาจเป็นคลังสินค้าของผู้ซื้อที่เมืองท่าต้นทาง หรือเป็นท่าเรือส่งออกที่ต้นทาง

10.  PORT OF DISCHARGE: เมืองท่าปลายทาง / เมืองท่าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือ

11.  PLACE OF DELIVERY: สถานที่สุดท้ายที่จะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ อาจเป็นคลังสินค้า ณ เมืองท่าปลายทาง หรือคลังสินค้า / สถานที่ทำการของผู้ซื้อที่อยู่ในอีกเมืองหนึ่งหรือในอีกประเทศหนึ่งก็ได้

12.  MARK & NO.: เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อของสินค้า

13.  QUANTITY AND KIND OF PACKAGES: จำนวนและลักษณะหรือชนิดของหีบห่อ

14.  DESCRIPTION OF GOODS: รายการสินค้า

15.  MEASUREMENT/GROSS WEIGHT: ขนาดของหีบห่อและน้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ของสินค้าสำแดง เฉพาะยอดรวมเท่านั้น

16.  CONTAINER AND SEAL NO.: หมายเลขตู้สินค้าและหมายเลขแถบผนึกตู้สินค้า

17.  NUMBER OF ORIGINAL: จำนวนต้นฉบับของ B/L โดยทั่วไปจะมี 3 ใบ

18.  PLACE AND DATE OF ISSUED: สถานที่และวันที่ที่ออก B/L

19.  CFS (CONTAINER FREIGHT STATION): สถานี บรรจุ/ ส่งมอบสินค้าที่ต้นทาง  ผู้ส่งออกต้องนำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ตัวแทนสายเดินเรือ ณ ที่ทำการของตัวแทนสายเดินเรือ ซึ่งตัวแทนสายเดินเรือจะทำการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ด้วยตนเอง โดยจะต้องรับผิดชอบในสินค้าที่ได้รับจากผู้ส่งออกจนกระทั่งสินค้าส่งไปถึงเมืองท่าปลายทางตัวแทนสายเดินเรือจะเรียกเก็บค่าบรรจุตู้(CFS charge) จากผู้ส่งออกที่ปลายทางตัวแทนเรือจะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นำเข้า ณ ที่ทำการหรือสถานีบริการของตัวแทนเรือ ตัวแทนเรือจะเรียกเก็บค่าเปิดตู้ (CFS charge) จากผู้นำเข้า

20.  CY (CONTAINER YARD): สถานี ส่งมอบ / รับมอบ ตู้สินค้าที่ต้นทาง ผู้ส่งออกต้องขอรับตู้คอนเทนเนอร์จากตัวแทนเรือเพื่อนำไปบรรจุสินค้าด้วยตนเอง ณ สถานประกอบการของผู้ส่งออกเอง ผู้ส่งออกจะต้องรับผิดชอบในสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ด้วยตนเองจนกระทั่งสินค้าส่งไปถึงเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือจะระบุใน B/L ว่า Shipper loaded and Counted ค่าบรรจุตู้จากผู้ส่งออกที่ปลายทาง ตัวแทนเรือจะส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้นำเข้า ณ ที่ทำการหรือสถานีบริการของตัวแทนเรือ ตัวแทนเรือจะไม่เรียกเก็บค่าเปิดตู้จากผู้นำเข้า

21.  CFS/CFS: B/L ที่ระบุเช่นนี้หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบ CFS ที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบ CFS หรือการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ ณ ที่ทำการของตัวแทนสายเดินเรือ ผู้นำเข้าบรรทุกสินค้าไปกับรถบรรทุก

22.  CFS/CY: B/L ที่ระบุเช่นนี้ หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบ CFS ที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบ CY ผู้นำเข้าลากตู้คอนเทนเนอร์ไปขนถ่ายสินค้ายังสถานประกอบการของผู้นำเข้าเอง

23.  CY/CY:      B/L ที่ระบุเช่นนี้ หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบ CY ที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบ CY

24.  FCL (FULL CONTAINER LOAD): คือการส่งออกที่บรรจุสินค้าจนเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการส่งออกแบบ CFS และ CY

25.  LCL (LESS THAN CONTAINER LOAD): คือการส่งออกที่บรรจุสินค้าไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะเป็นการส่งออกแบบ CFS เท่านั้น

26.  SHIPPED ON BOARD / CLEAN ON BOARD / CLEAN SHIPPED ON BOARD:        เป็นคำที่ระบุใน B/L โดยทั่วไป มีความหมายว่าเรือสินค้าได้รับของไว้บนเรือเรียบร้อยแล้ว โดยสินค้าอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย คำว่า Clean มีความหมายว่าสินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น B/L ต้องไม่มี Remark หรือหมายเหตุว่าสินค้าไม่เรียบร้อ

27.  FREIGHT PREPAID: ค่าระวางเรือจ่ายที่ต้นทาง

28.  FREIGHT COLLECT / PAYABLE AT DESTINATION: ค่าระวางเรือจ่ายที่เมืองท่าปลายทาง



1 ความคิดเห็น:

  1. สอบถามค่ะ วันที่ใน B/L date ก็คือวันที่เรือออกจากท่า ถูกต้องไหมคะ

    ตอบลบ