วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ส่วนต่าง ๆ ของคำ (Part of Speech)


ส่วนต่าง  ของคำ (Part of Speech)
ชนิดของคำในกาษาอังกฤษ เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด คือ

1.   คำนาม (Noun) คือ คำที่เราใช้เรียกชื่อคนสัตว์สิ่งของและสถานที่ เช่น
                 คน (People)                        = Man, Women, Mark
                 สัตว์ (Animals)                     = Cow, Dog, Tiger
                 สิ่งของ (Things)                   = Book, Table, Car
                 สถานที่ (Place)                    = School, Zoo, Hospital

2.   คำสรรพนาม (Pronoun) คือ คำที่เราใช้แทนคำนาม (Noun) เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องพูดคำนามนั้นบ่อย ๆ อย่างเช่น John is learning English เราสามารถใช้คำสรรพนาม “He” แทนชื่อ John ได้ เราก็จะได้ประโยคว่า He is learning English และคำสรรพนามที่เราใช้กันอยู่คือ I, you, we, they, he she, it , who, that เป็นต้น

3.   คำคุณศัพท์ (Adjective) คือ คำที่เราใช้เป็นคำที่มาขยายนาม เพื่อให้ประโยคของเรานั้นได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นประโยคที่ว่า He has a red rose. “red” เป็นคำคุณศัพท์ที่เรานำมาขยายคำนาม คือ “rose” เพื่อที่ว่าเราจะได้ทราบแน่ชัดว่า เขามีดอกกุหลบสีไหน นั่นก็คือ เขามีดอกกุหลาบสีแดงนั่นเอง และคำที่รำมาขยายคำนามนั้นจะต้องเป็นคำคุณศัพท์เสมอและต้องมาวางไว้หน้าคำนาม เช่น good girl, “good” เป็น Adjective ที่เรานำมาวางหน้าคำนาม girl

4.   คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เป็นคำที่มีหน้าที่ขยาย Verb(กริยา) เช่นเดียวกับคำ Adjective(คำคุณศัพท์) ที่มีหน้าที่ขยายคำนาม เพื่อที่ว่าเราจะได้ใจความของประโยคที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ Adverb ไม่ได้มีหน้าที่ขยายคำกริยาอย่างเดียว แต่มีหน้าที่ขยายคำ Adjective(คำคุณศัพท์), Preposition(คำบุพบท)และ Conjunction(คำสันธาน) ด้วย

5.   กริยา (Verb) เป็นคำที่เราใช้บอกการกระทำหรือการเคลื่อนไหวของคำนามหรือสรรพนามที่เรานำมาเป็นประธานของประโยค คำกริยาจะบอกถึงการกระทำ คำสั่งหรือคำถามของประโยคนั้น ๆ เช่น That cat jumps. แมวตัวนั้นกระโดด “That cat” เป็นประธานของประโยค ส่วนคำว่า jump นั้นเป็นกริยาของประโยค

6.   คำบุพบท (Preposition) เป็นคำที่เราใช้เชื่อมคำต่าง ๆ เข้าด้วยกันในประโยค โดยเราสามารถใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม หรือ คำนามกับคำกริยาก็ได้ เรานำคำบุพบทมาใช้เพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำในประโยค เช่น เพื่อใช้บอกทิศทาง, ตำแหน่ง, สถานที่, เวลา, สาเหตุ, หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น A cat under the table. มีแมว 1 ตัวอยู่ใต้โต๊ะ “Under” เป็นบุพบทที่เราบอกถึงตำแหน่งของสถานที่ ซึ่งเราอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคำนาม(Noun) คือ คำว่า “cat” กับคำนาม(Noun) คือ คำว่า “table” ตัวอย่างของคำบุพบทที่ใช้ทั่วไปคือ in, on, at, under

7.   คำสันธาน (Conjunction) คือ เป็นคำเชื่อมที่ใช้เชื่อมคำต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น คำเชื่อมคำ วลีเชื่อวลี หรือประโยคเชื่อมประโยค เพื่อที่ว่าให้ ประโยคนั้นมีใจความติดต่อกัน เช่น He came here, when I was sleeping. “When” แปลว่าเมื่อ เป็นคำที่เราใช้เชื่อมประโยคต่อประโยค หรือ He and I are friends. “and” แปลว่า และ เป็นคำสันธานที่เราใช้เชื่อสรรพนาม(Pronoun) กับสรรพนาม(Pronoun) เข้าด้วยกัน ในประโยค ตัวอย่างขงคำสันธานที่เรามักนิยมใช้ได้แก่ and, but, nor, so, when

8.   คำอุทาน (Interjection) เป็นคำที่เราเปล่งเสียงออกมาลอย ๆ ที่เราใช้แสดงความรู้สึกดีใจ เสียใจ ตกใจ หรือ ประหลาดใจ คำอุทานจะไม่เกี่ยวข้องกับคำใด ๆ ในประโยคเลย คำอุทานที่เรานิยมใช้กันอยู่ เช่น Wow!, Yes!, Oh!, Hey!, Alas!, Ah!, Obb! คำเหล่านี้เป็นคำอุทานทั้งนั้น ซึ่งเมื่อเราเขียนคำอุทานในประโยคแล้วเราจะต้องใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ในประโยคทุกครั้ง

เนื้อหาในบทความนี้มีที่มาจากหนังสือ สุดยอด TENSES” โดยอาจารย์จามจุรี ซึ่งผู้เขียนบล็อกเห็นว่ามีเนื้อหาค่อนข้างเข้าใจง่าย อธิบายไม่กำกวม สั้นได้ใจความ จึงได้นำมาลงในบล็อกเผื่อผู้ที่ต้องการความรู้เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของคำดังที่นำเสนอข้างบน
*หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือสำหรับพกค่ะเล่มเท่าผ่ามือเอง เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย ราคาไม่ถึงร้อย แนะนำให้ซื้อพกพาไว้อ่านเล่นค่ะ หาได้ในจ้า www.skybook.co.th (ผู้เขียนบล็อกไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการขายค่ะ โฆษณาแนะนำสำหรับคนสนใจหนังสือเฉย ๆ นะคะ อิอิ) 

Cr. หนังสือ สุดยอด Tense

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น