คำนาม (Nouns) คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน,
สัตว์, สิ่งของ และสถานที่
1. ประเภทของคำนาม
โดยทั่วไปแล้ว
เราสามารถแบ่งประเภทของคำนามได้เป็น
3
ประเภท ได้แก่ วิสามานยนาม, สามานยนาม, และสมุหนาม
ดังจะอธิบายต่อไปนี้
1.1 วิสามานยนาม (Proper Noun) หมายถึง คำที่เป็นชื่อเฉพาะของคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ โดยทั่วไปคำเหล่านี้มักขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่และจะไม่มีการผันพจน์ ได้แก่ ชื่อบุคคล อาทิ Chawin Varnabhumi, ชื่อตำแหน่ง, หรือชื่อสถานที่ อาทิ Bangkok, Thailand เป็นต้น
1.2 สามานยนาม หรือคำนามทั่วไป (Common Noun) หมายถึง คำทั่วไปที่ใช้เรียกชื่อคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ โดยมิได้เป็นชื่อเฉพาะ เช่น a man, a cat, a pen, a lavatory เป็นต้น เราสามารถแบ่งสามานยนามออกเป็น 2 กลุ่มย่อยๆ คือ นามที่นับได้ และนามที่นับไม่ได้
- นามที่นับได้ (Countable Noun) หมายถึง นามที่เราสามารถแยกออกเป็นตัวๆ
เป็นชิ้นๆได้ด้วยสายตา
เช่น a
boy, a girl, a cat, a lavatory เป็นต้น
เหล่านี้จัดเป็นกลุ่มนามที่สามารถทำให้เป็นพหูพจน์ได้
เช่น boys, girls,
cats, lavatories เป็นต้น
(หากเป็นเอกพจน์ก็ต้องอยู่ตามหลังคำนำหน้านาม)
- นามที่นับไม่ได้ (Uncountable Noun) หมายถึง นามที่เราไม่สามารถแยกออกเป็นตัวๆ เป็นชิ้นได้ เช่น water หรือหากแยกได้ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เช่น rice ทั้งนี้รวมทั้งอาการนามต่าง ๆ ด้วย โดยทั่วไปแล้ว คำเหล่านี้จะจัดเป็นเอกพจน์ อย่างไรก็ดีเราไม่ควรด่วนสรุปว่ากลุ่มคำนามที่นับไม่ได้นี้จะมีรูปแบบเป็นเอกพจน์เท่านั้น เพราะอาจเป็นไปได้ทั้ง 2 แบบ และวิธีที่จะทราบได้ก็คือการตรวจสอบจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษ (พิณทิพย์ ทวยเจริญ, 2550, หน้า 24)
- นามที่นับไม่ได้ (Uncountable Noun) หมายถึง นามที่เราไม่สามารถแยกออกเป็นตัวๆ เป็นชิ้นได้ เช่น water หรือหากแยกได้ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เช่น rice ทั้งนี้รวมทั้งอาการนามต่าง ๆ ด้วย โดยทั่วไปแล้ว คำเหล่านี้จะจัดเป็นเอกพจน์ อย่างไรก็ดีเราไม่ควรด่วนสรุปว่ากลุ่มคำนามที่นับไม่ได้นี้จะมีรูปแบบเป็นเอกพจน์เท่านั้น เพราะอาจเป็นไปได้ทั้ง 2 แบบ และวิธีที่จะทราบได้ก็คือการตรวจสอบจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษ (พิณทิพย์ ทวยเจริญ, 2550, หน้า 24)
1.3 สมุหนาม หรือนามบอกหมวดหมู่ (Collective
Noun) หมายถึง
นามที่บ่งบอกถึงหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆ
จัดเป็นนามที่มีรูปแบบเอกพจน์คงเดิม “แต่นัยทางความหมายเมื่อใช้ในประโยค
เป็นไปได้ทั้งนัยเอกพจน์และนัยพหูพจน์”
(พิณทิพย์
ทวยเจริญ, 2550,
หน้า 29)
คำนามเหล่านี้
ได้แก่ army, class,
family, group, crew, crowd, committee, family, government, jury, staff,
audience เป็นต้น
อย่างไรก็ดี
คำเหล่านี้ก็อาจใช้ในรูปพหูพจน์ได้ในบางกรณี
เช่น A
reading group of my faculty is cancelled.
A group of students are having a meal at the main canteen.
Many groups of students are having a meal at the main canteen.
*ผู้เขียนบล็อกหวังว่าความรู้จากบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่สนใจค่ะ
Cr. ชวิน
วรรณภูมิ
@
Dek-D.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น