Present
Simple Tense คือ Tense ที่เราใช้พูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันที่เป็นความจริง
หรือเป็นความสามารถเฉพาะตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งที่เป็นความจริง
ตลอดกาลและเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
โครงสร้างของ Present
Simple Tense
หลักการใช้ Present Simple Tense ที่ผู้อ่านควรทราบ คือ
1. จะใช้กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นจริงเสมอ
เช่น
- The sun rises in the
east.
2. เป็นเรื่องทั่ว ๆ
ไปที่เป็นจริงเสมอหรืออาจเกิดขึ้นจริงในขณะที่พูดอยู่ เช่น
- My parents read the
newspaper everyday.
3. เป็นเรื่องเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี
- Muslim do not eat
pork.
4. เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล
- Backham plays football
well.
5.
เป็นประโยคอุทาน เช่น
-
Here it is!
6.
ใช้กับ adverb ที่แสดงเวลาในอนาคต หรือ
เหตุการณ์ หรือการกระทำที่กำหนดเวลาในอนาคตที่แน่นอน
ซึ่งกริยาที่ใช้ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับเวลา หรือ เหตุการณ์ เช่น
begin end stop have
depart arrive come go
open close leave start เช่น
-
English course begins at 12.30 p.m. tomorrow.
7.
เป็นการกระทำที่ทำจนเป็นนิสัยและเกิดขึ้นซ้ำซาก
เช่น
-
I always get up at six o’clock
8.
ใช้ในการประกาศหรือพาดหัวข่าว เช่น
-
This museum opens 9 a.m. and close 5 p.m.
9.
ใน Present Simple นี้มักจะมีคำวิเศษณ์อยู่ในประโยค
เช่น
sometime often hardly ever
never usually rarely normally
generally always frequently occasionally
seldom from time to time now and again เช่น
- I always go to
shopping on Sunday
Positive adverb
|
negative adverb
|
always 100%
nearly always 80%
usually 80%
generally 80%
often 80%
sometimes 50%
|
occasionally 40%
hardly ever 20%
rarely 20%
scarcely 20%
seldom 20%
never 0%
|
10.
ใช้กับเหตุการณ์ 2
เหตุการณ์ในอนาคตและมักจะมีคำสันธาน เช่น
when as soon as until after
before by the time while unless
if as long as the moment that
ในส่วนของ main clause (ประโยคหลัก) เราจะใช้ Present Simple Tense
ในส่วนของ subordinate clause (ประโยครอง) เราจะใช้ Present
Simple Tense หรือ Present perfect Tense.
เช่น
-
The
girl won’t do homework
until the mother comes.
(main clause) (subordinate clause)
-
As
soon as the teacher has come, the children will stop talking.
(subordinate
clause) (main clause)
ในส่วนของคำกริยาที่ผู้อ่านสามารถใช้ได้กับ
Tense คือ กรยาช่องที่ 1 ซึ่งเรามีหลักการเติม
“s” หรือ “es” ของกริยาช่องที่ 1
อยู่ว่า การเติม “s” ท้ายคำกริยาจะให้ความหมายตรงข้ามกับการเติม
“s” ท้ายคำนาม คือ ถู้อ่านเติม “s” ท้ายคำนามเอกพจน์จะทำให้คำนามนั้นกลายเป็น
“คำนามพหูพจน์” แต่ถ้าผู้อ่านเติม “s”
ท้ายคำกริยาช่องที่ 1 จะทำให้กริยานั้นกลายเป็น
“กริยาเอกพจน์”
เมื่อผู้อ่านต้องการเปลี่ยนประโยค
Present Simple Tense ให้เป็นประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธ ผู้อ่านสามารถทำได้ ดังนี้
1.
ประโยคคำถาม จะใช้ verb to “do” หรือ “does” นำประโยค เช่น
-
Mike plays football very
well. --- > Does Mike play football very well?
-
They walk to school
everyday. --- > Do they walk to school everyday?
2.
ประโยคปฏิเสธ เราจะใช้ verb to “do + not” หรือ “does + not” นำหน้ากริยา เช่น
-
Mike plays football very
well --- > Mike does not play football very well.
-
We wash our hair
everyday --- > We do not wash our hair everyday.
ต่อไปนี้คือคำกริยาอธิบายการใช้ “verb to do” คู่กับประธานที่ผู้อ่านหลาย
ๆ คนอาจจะสงสัยกัน
Verb to “do”
|
ประเภทของประธาน
|
does
|
-
ประธานที่เป็นคำนามเอกพจน์ เช่น a boy, the dog
-
ประธานที่เป็นสรรพนามเอกพจน์ คือ he, she, it
|
do
|
-
ประธานที่เป็นคำนามพหูพจน์ เช่น the men, the children
-
ประธานที่เป็นสรรพนาม คือ I
-
ประธานที่เป็นพหูพจน์ คือ you, we, they
|
มีสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้อ่านควรจำเกี่ยวกับการใช้ verb to “do” ในประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธของ
Present Simple Tense คือ เมื่อมี “do” หรือ “does” แล้วกริยาแท้ของประโยค Present
Simple Tense จะต้องเป็นกริยาช่องที่ 1 ที่อยู่ในรูปพหูพจน์เสมอ
เช่น
Mike plays football very well. --- > Does Mike play football very well?
-
plays เป็นกริยาช่องที่
1 ในรูปเอกพจน์ เพราะมี “s” เนื่องจาก Mike
เป็นประธานที่เป็นคำนามเอกพจน์ ดังนั้น กรอยาจะต้องเติม “s” หรือ “es”
-
play ในประโยคคำถามเป็นกริยาช่องที่
1 ในรูปพหูพจน์ เพราะไม่มี “s” และเนื่องจาก
play เป็นกริยาแท้ของประโยค และมีคำว่า “does” ในประโยค ดังนั้น play คือ กริยาช่องที่ 1 และเป็นรูปของพหูพจน์
ในส่วนของคำกริยาที่น้อง
ๆ สามารถใช้ได้กับ Present Tense คือ Verb to be (is, am, are) เมื่อต้องการเปลี่ยนประโยคบอกให้เป็นประโยคปฏิเสธเราจะเติม
“not” หลัง Verb to be ในประโยคได้เลย
โดยที่เราไม่ต้องใช้ verb to “do” มาเป็นกริยาช่วย เพราะ verb to be สามารถเป็นได้ทั้งกริยาแท้และกริยาช่วย
เช่น
-
Jane is pretty. --- > Jane is not pretty.
(ประโยคบอกเล่า) (ประโยคปฏิเสธที่มี verb to be)
ส่วนของการตอบคำถามประโยคคำถามชนิดนี้
คุณผู้อ่านจะต้องตอบคำถามด้วยคำว่า “Yes” หรือ “No”
-
คำตอบ Yes เราจะต้องตมด้วยประโยคบอกเล่า
เช่น
Do you walk to school?
--- > Yes, I walk to school.
-
คำตอบ No เราจะต้องตามด้วยประโยคปฏิเสธ
เช่น
Do they work everyday?
--- > No, they do not work
everyday.
ผู้เขียนบล็อกหวังว่าความรู้จากบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่สนใจค่ะ
Cr. หนังสือ สุดยอด Tenses
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น